หัวข้อ   “ ครบ 1 เดือน คสช. : ผลงานในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์
นักเศรษฐศาสตร์ 62.6% บอก ผลงาน 1 เดือน คสช. ช่วยแก้ปัญหาประเทศได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น
แนะการทำงานในช่วงปฏิรูปประเทศระยะที่ 2 ต้องวางยุทธศาสตร์การปฏิรูปที่ชัดเจน มุ่งแก้ทุกปัญหาอย่างยั่งยืน
และ 51.7% เชื่อ จีดีพี ปีนี้ขยายตัวไม่ถึง 3%
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 27 แห่ง
จำนวน 60 คน เรื่อง “ครบ 1 เดือน คสช. : ผลงานในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์” โดย
เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 18 – 25 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลสำรวจมีดังนี้
 
                  การบริหารประเทศภายใต้ คสช. ในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมาที่มีนโยบาย
มาตรการต่างๆ ที่ออกมามากมายนั้น นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 62.6 เห็นว่า
การดำเนินงานดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น มีเพียงร้อยละ 18.5
ที่เห็นว่าสามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาว ขณะที่ร้อยละ 10.6 มองว่าการดำเนินการ
ดังกล่าวไม่ได้ผลและไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้
 
                  เมื่อพิจารณาการดำเนินงานในแต่ละเรื่องพบว่า เรื่องที่กำลังดำเนินการ
อยู่และมีแนวโน้มที่จะแก้ปัญหาได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวคือเรื่อง การจัดระเบียบ
รัฐวิสาหกิจ และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว
 
                  ส่วนเรื่องที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่าไม่ได้ผลหรือได้ผลแค่ในระยะสั้นเท่านั้น
คือเรื่อง การปราบปรามการพนัน / บ่อน / หวย
 
                  สำหรับเรื่อง การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ / ไม่มีสีเสื้อ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 53.3 มองว่าสามารถ
แก้ปัญหาได้ในระยะสั้นเท่านั้น และมีถึงร้อยละ 20.0 ที่มองว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ผล เช่นเดียวกับ กิจกรรมคืนความสุข
ให้กับคนไทย
ที่ร้อยละ 78.3 เห็นว่าได้ผลเพียงในระยะสั้นเท่านั้น
 
                  นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังเห็นว่าการดำเนินงานของ คสช. ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมายังขาดยุทธศาสตร์
ขาดกลยุทธ์ ขาดความเป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และขาดที่ปรึกษาที่เยี่ยมยอดจึงอาจทำให้ปัญหาที่กำลังแก้อยู่
ในปัจจุบันจะกลับมาอีกในอนาคต ดังนั้น การทำงานในช่วงแผนปฏิรูปประเทศระยะที่ 2 คสช. จึงควรวางยุทธศาสตร์
การปฏิรูปที่ชัดเจน มุ่งแก้ทุกปัญหาอย่างยั่งยืน
เพื่อให้การปฏิรูปสำเร็จตามที่ประชาชนคาดหวัง
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า จีดีพี ในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 3 ได้หรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์กว่าครึ่งคิดเป็น ร้อยละ 51.7
คิดว่าไม่ได้ มีเพียงร้อยละ 25.0 ที่คิดว่าได้
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. การทำงานในรอบ 1 เดือนของ คสช. นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นเพียงใดว่า
                 การแก้ปัญหาที่กำลังดำเนินการอยู่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้ในระยะยาว

การทำงานในรอบ 1 เดือนของ คสช.
เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหา...
ไม่ตอบ/
ไม่แน่ใจ
ไม่ได้ผล/
แก้ไม่ได้
ได้ผล
ในระยะสั้น
ได้ผล
ในระยะยาว
1) การจัดระเบียบรัฐวิสาหกิจ
6.7
46.7
38.3
8.3
2) การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว
13.3
46.7
30.0
10.0
3) การปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้เป็นธรรม
    และสะท้อนกลไกตลาด
25.0
28.3
33.3
13.4
4) การติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
    และแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น
11.7
61.7
20.0
6.6
5) การปราบปรามอาวุธสงคราม / มือปืน
0.0
75.0
18.3
6.7
6) มาตรการลดต้นทุนการผลิตที่จะใช้ช่วยเหลือชาวนา
6.7
71.7
18.3
3.3
7) การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ / ไม่มีสีเสื้อ
20.0
53.3
15.0
11.7
8) การคืนความสุขให้กับคนไทย
3.3
78.3
13.3
5.1
9) การปราบปรามเครือข่ายยาเสพติด
3.3
73.3
11.7
11.7
10) การจัดระเบียบวินมอเตอร์ไซต์/รถตู้/แท็กซี่
11.7
68.3
11.7
8.3
11) การดูแลค่าครองชีพ
16.7
66.7
8.3
8.3
12) การปราบปรามการพนัน / บ่อน / หวย
8.3
81.7
3.3
6.7
ภาพรวม
10.6
62.6
18.5
8.3
            หมายเหตุ : รวบรวมและคัดเลือกโดยกรุงเทพโพลล์
 
 
             2. การทำงานในรอบ 1 เดือนของ คสช. โดยสังเขปตามการประเมินข้างต้น มีจุดอ่อนตรงไหนที่ต้องรีบแก้ไข
                 หรือแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการทำงานอีก 2 เดือนที่เหลือของแผนปฏิรูปประเทศระยะที่ 1
                 (เป็นคำถามปลายเปิด)

อันดับ
 
อันดับ 1
การดำเนินงานยังขาดยุทธศาสตร์ ขาดกลยุทธ์ ขาดความเป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหา
อย่างยั่งยืน และขาดที่ปรึกษาที่เยี่ยมยอดจึงอาจทำให้ปัญหาที่กำลังแก้อยู่ในปัจจุบัน
จะกลับมาอีกในอนาคต
อันดับ 2
เพิ่มความจริงจังเด็ดขาด เข้มงวด ในการบังคับใช้กฏหมาย ไม่ต้องเกรงกลัวผู้ใด ต้องปฏิบัติ
อย่างเท่าเทียม โดยความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายยังต้องมีอยู่เมื่อการบริหาร
ประเทศกลับสู่ภาวะปกติ
อันดับ 3
เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจสิ่งที่ทำว่ามีความจำเป็นและมีเป้าหมายอย่างไร
ในการแก้ปัญหาต่างๆ มีการสร้างความเชื่อมั่นกับชาวต่างชาติ และนักลงทุน
อันดับ 4
อื่นๆ ได้แก่ เน้นแก้ปัญหาของคนหมู่มาก(เช่นราคาพลังงาน ค่าครองชีพ) เร่งกระตุ้น
เศรษฐกิจ แก้ปัญหาจราจร
            หมายเหตุ: มีนักเศรษฐศาสตร์แสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้จำนวน 32 คน
 
 
             3. การทำงานในช่วงแผนปฏิรูปประเทศระยะที่ 2 ภายใต้การดูแลและรักษาความสงบของ คสช.
                  มีสิ่งที่ต้องการเสนอแนะการทำงานอะไรบ้าง เพื่อให้การปฏิรูปสำเร็จ (เป็นคำถามปลายเปิด)

อันดับ
 
อันดับ 1
วางยุทธศาสตร์การปฏิรูปที่ชัดเจน มุ่งแก้ทุกปัญหาอย่างยั่งยืน
อันดับ 2
แก้กฏหมายเพื่อรองรับการปฏิรูป ปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายให้เข้มข้นในทุกยุคสมัย
ไม่ว่าใครมาบริหารประเทศ เพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงขึ้น
อันดับ 3
ปฏิรูปเศรษฐกิจ การเกษตร พลังงาน แรงงาน การคอร์รัปชั่น เพื่อประชาชนจะได้อยู่ดีกินด
ี พร้อมๆ กับการปฏิรูปสังคมด้วยการสร้างสังคมที่มีวินัย ยึดถือคุณธรรม ความซื่อสัตย์
เป็นบรรทัดฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคม
อันดับ 4
สื่อสารกับประชาชนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนทราบความก้าวหน้าใน
การปฏิรูปประเทศ
อันดับ 5
ให้ประชาชน นักวิชาการ มีส่วนร่วมในการปฏิรูป
อันดับ 6
อื่นๆ ตรวจสอบความก้าวหน้าของการปฏิรูปเป็นระยะๆ / มอบอำนาจเต็มให้กับรัฐบาลใหม่
ในช่วงที่ 2 ที่จะปฏิรูป / สร้างกลไกตรวจสอบการทำงานของ คสช.
            หมายเหตุ: มีนักเศรษฐศาสตร์แสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้จำนวน 31 คน
 
 
             4. จีดีพี (ณ ราคาคงที่) ปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 3 ได้หรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

ร้อยละ
 
51.7
คิดว่าไม่ได้
25.0
คิดว่าได้
23.3
ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ
 

          ** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                               นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                        เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อการทำงาน การบริหารราชการแผ่นดิน
ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
 
กลุ่มตัวอย่าง:
                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
(กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์
อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน)
ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 27 แห่ง
ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต
คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 18 – 25 มิถุนายน 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 26 มิถุนายน 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
26
43.3
             หน่วยงานภาคเอกชน
21
35.0
             สถาบันการศึกษา
13
21.7
รวม
60
100.0
เพศ:    
             ชาย
36
60.0
             หญิง
24
40.0
รวม
60
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.7
             26 – 35 ปี
14
23.3
             36 – 45 ปี
27
45.0
             46 ปีขึ้นไป
18
30.0
รวม
60
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
5
8.4
             ปริญญาโท
38
63.3
             ปริญญาเอก
17
28.3
รวม
60
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
9
15.0
             6 - 10 ปี
18
30.0
             11 - 15 ปี
11
18.3
             16 - 20 ปี
8
13.3
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
14
23.4
รวม
60
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776